วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ศัพท์เพิ่มเติม

ศัพท์เพิ่มเติม
•Cash management systems
•Electronic Funds Transfer
•Cost -accounting Systems
•Time to market
•Material Requirement s Planning (MRP)
•Bill of Materials (BOM)
•Economic Order Quantity (EOQ)
•Manufacturing Resource Planning (MRPII)
•Just in Time
•Radio Frequency Identification (RFID)
•Electronic Product Code (EPC)

ระบบการจัดการเงินสด (Cash Management System)
  - ช่วยให้บริษัทสามารถประมาณการและจัดการเกี่ยวกับระบบเงินสดได้รวดเร็วขึ้น โดยดูจากข้อมูลของการรับสั่งสินค้า และจาก Invoice ของการซื้อและขาย
  - ระบบจะมีการประมวลผลทั้งในด้านการรับและจ่ายเงินสด เช็ค โอนเงิน ฯลฯ และสามารถดูรายละเอียดของเอกสารที่เกิดขึ้นในแต่ละรายการได้เช่นเลขที่เอกสาร เงื่อนไขการจ่ายชำระ
 - สามารถกระทบยอดรายการที่เกิดขึ้นจริงกับรายการที่เกิดขึ้นกับธนาคารได้โดยผู้ใช้บันทึกรายการ Statement ของธนาคาร หรือโอนข้อมูล Statement ได้

   Electronic Funds Transfer การโอนเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
   การโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์, การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินระหว่างบุคคลหรือองค์กร, ระบบที่ใช้ในการส่งผ่านโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน ระบบนี้สามารถโอนเงินจากบัญชีหนึ่งเข้าไปฝากอีกบัญชีหนึ่งได้ทันที

 Cost -accounting Systems
ระบบบัญชีค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะถูกออกแบบมาเพื่อวัดเสร็จสมบูรณ์แล้วค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของสินค้าและบริการ ในขณะที่การบัญชีกระแสเงินสดมาตรฐานมุ่งเน้นไปที่ตรงค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและค่าใช้จ่ายระบบบัญชีค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมช่วงกว้างของค่าใช้จ่าย ประโยชน์บัญชีค่าใช้จ่ายเต็มของเมื่อเทียบกับบัญชีกระแสเงินสดเป็นที่ให้ปัจจัยค่าใช้จ่ายมากขึ้นในการได้รับการพิจารณาสำหรับการวางแผนและการตัดสินใจวัตถุประสงค์

Time to market
ความยาวของเวลาที่ใช้ในผลิตภัณฑ์จากการคิดจนเป็นที่พร้อมสำหรับการขาย ทีทีเอ็มเป็นสิ่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมที่ผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัยอย่างรวดเร็ว สมมติฐานที่พบบ่อยคือการที่ทีทีเอ็มที่สำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์แรกของชนิด แต่ที่จริงผู้นำมักจะมีความหรูหราของเวลาในขณะที่นาฬิกาจะเห็นได้ชัดว่าการทำงานสำหรับผู้ติดตาม
การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning, MRP) คือ
กระบวนการวางแผนการควบคุมวัสดุและการวางแผนการผลิต ระบบวางแผนความต้องการวัสดุจะพิจารณาความต้องการวัสดุจนถึงระดับผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณความต้องการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจัดการสั่งผลิตหรือสั่งซื้อส่วนประกอบนั้นๆ นอกจากนี้ ระบบวางแผนความต้องการวัสดุยังทำหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตารางการผลิตเมื่อมีการทบทวนแผนงาน
Bill of Materials (BOM)
คือรายการของวัตถุดิบประกอบย่อยส่วนประกอบกลางย่อยส่วนประกอบชิ้นส่วนและปริมาณของแต่ละที่จำเป็นในการผลิตสินค้าที่สิ้นสุด . BOM อาจจะใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างคู่ค้าการผลิตหรือถูกคุมขังในโรงงานผลิตเดียว
BOM สามารถกำหนดผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาได้รับการออกแบบ ( การเรียกเก็บเงินของวัสดุวิศวกรรม ) เช่นที่พวกเขาจะได้รับคำสั่ง (เรียกเก็บเงินจากการขายวัสดุ) ขณะที่พวกเขาถูกสร้างขึ้น ( ค่าการผลิตของวัสดุ ) หรือที่พวกเขาจะเก็บรักษาไว้ (ค่าบริการของวัสดุ) ชนิดที่แตกต่างกันของ BOMs ขึ้นอยู่กับความต้องการทางธุรกิจและการใช้งานที่พวกเขามีความตั้งใจ ในอุตสาหกรรมกระบวนการ BOM เป็นที่รู้จักกันเป็นสูตร , สูตรหรือรายการส่วนผสม . ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ BOM แสดงให้เห็นถึงรายชื่อของชิ้นส่วนที่ใช้ในคณะกรรมการการเดินสายไฟที่พิมพ์หรือแผงวงจรพิมพ์ เมื่อการออกแบบของวงจรเสร็จสิ้นรายการ BOM จะส่งให้กับPCBวิศวกรรูปแบบเช่นเดียวกับที่วิศวกรส่วนที่จะจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ
Economic Order Quantity (EOQ)
คือ ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด โดยการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งจะสั่งในปริมาณหรือจำนวนที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมนั้นเกิดจากค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ
Manufacturing Resource Planning (MRPII)
การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะลดขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต
just in time 
การผลิตหรือการส่งมอบสิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งหมายรวมถึงบุคคลากรในส่วนงานต่าง ๆ ที่ต้องการงานระหว่างทำ (Work In Process) หรือวัตถุดิบ (Raw Material) เพื่อให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้วัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ (Raw Material), งานระหว่างทำ (Work In Process) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) กลายเป็นศูนย์ โดยวัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ
1. ต้องการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)
2. ต้องการลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Lead Time)
3. ต้องการขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Failures)
4. ต้องการขจัดความสูญเปล่าในการผลิตดังต่อไปนี้
        - การผลิตมากเกินไป : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
        - การรอคอย : วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
        - การขนส่ง : มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
        - กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ : มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น        - การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง : วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
        - การเคลื่อนไหว : มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน
        - การผลิตของเสีย : วัสดุและข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
จะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ กันเลยว่า JIT มีบทบาทกับเราอย่างไร เอาเป็นเรื่องของการนัดสัมภาษณ์งานก็แล้วกัน เช่น เมื่อบริษัทต้องการที่จะนัดเราสัมภาษณ์งานในเวลา 10:00 น. นั่นหมายถึงว่าผู้สัมภาษณ์หรือผู้บริหารที่จะมาสัมภาษณ์เราได้มีการวางตารางงานเอาไว้แล้ว ว่าช่วงเวลานั้นจะเป็นช่วงเวลาที่สะดวก เขาจะไม่นัดให้มาก่อนหน้านั้น เพราะไม่อยากให้มาสัมภาษณ์งานต้องรอนาน และเขาก็ไม่อยากให้เรามาสายเพราะเนื่องจากผู้สัมภาษณ์ก็ไม่ต้องการมานั่งรอที่จะสัมภาษณ์งานด้วย และผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะมีภาระงานอื่นที่ต้องทำเช่นกัน ฉะนั้นคำว่า Just In Time ก็จะมีความหมายถึงการตรงต่อเวลา ไม่เร็วและไม่สายเกินกว่าเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคอย ได้เป็นอย่างดี
ทีนี้เราลองมาดูกันในส่วนของข้อดีและข้อเสียของระบบ JIT กันดีกว่า
Radio Frequency Identification (RFID)
เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
RFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้น ๆ ในปัจจุปันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน  ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล    RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ด
Electronic Product Code (EPC)
เป็นโครงสร้างใหม่ในการกำหนดเลขรหัสให้กับสินค้าที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Auto-ID Center โดยมีองค์กร GS1 เป็นผู้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้การกำหนดเลขรหัสเพื่อบ่งชี้สินค้าแต่ละหน่วย แต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นับได้ว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าเลขรหัสบาร์โค้ดในระบบเดิม โดยเลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) จะเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นและบรรจุอยู่ภายในหน่วยความจำของ RFID Tag เพื่อประโยชน์ในการอ่านและบ่งชี้ข้อมูลต่างๆ สำหรับเลขรหัสบาร์โค้ดเป็นเลขบ่งชี้เพื่อกำกับสินค้าชนิดนั้นๆ โดยสินค้าประเภทเดียวกันที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการก็จะมีเลขรหัสเดียวกันทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นสินค้าที่มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุต่างกัน ระบบ EPC จะมีลักษณะการนำไปใช้งานได้มากกว่าระบบบาร์โค้ด เพราะ EPC มีโครงสร้างเลขรหัสที่มีจำนวนตัวเลขมากกว่า จึงสามารถนำไปกำหนดให้กับสินค้าทุกชิ้นมีเลขรหัสที่ต่างกันทั้งหมดได้ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นสินค้าที่เหมือนกันแต่คนละชิ้นก็จะมีเลขรหัสต่างกัน ทำให้สินค้าที่มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุต่างกันมีเลขรหัสต่างกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการสินค้านั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น